วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทเพลงเสียดสี

บทเพลงเสียดสี ประชดประชัน ถากถางบุคคล เช่น
( ฮา…เอ้อ…)โลกสาว ( เหอ…) โลกสาวชาวบ้านออก
นมไม่ทันงอก บอกแม่เอาผัว
เดี๋ยวก่อนแล้อีสาว ( เหอ…) ให้ไอบาวหมึงหลบแต่แลงัว
บอกแม่เอาผัว ดอกบัวไม่ทัน... ( เอ้อ..เหอ…) บาน

บทเพลงนิทานพื้นบ้าน

บทเพลงเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน ชาดกและวรรณคดีไทย เช่น
( ฮา...เอ้อ...) นางโมรา ( เหอ…) อาบน้ำในสระ
เจ็ดคนพี่น้อง นายพรานมาเห็น
คล้องเอาสุดท้องนางโมรา นายพรานมันพา … (เอ้อ...เหอ…)ไป

บทเพลง

บทเพลงแสดงความรักของแม่ที่มีต่อลูก เช่น
เจ้าเนื้ออุ่น ( เอย…) เนื้อเจ้าละมุนดั่งสำลี
แม่ไม่ให้ใครต้อง เนื้อเจ้าจะหมองศรี
เจ้าคนดี ของแม่คนเดียวเอย
( เผื่อน สุพรรณยศ , สัมภาษณ์ )

ประเภทของเพลงพื้นบ้าน

๑. การแบ่งประเภทเพลงพื้นบ้าน
เพลงพื้นบ้านของไทยมีอยู่มากมายและสามารถแบ่งประเภทได้หลายวิธีดังนี้
เอนก นาวิกมูล (๒๕๒๗ : ๑๗๗-๑๒๐) แบ่งประเภทเพลงพื้นบ้านไว้ ๔ วิธี ได้แก่
๑.๑ แบ่งตามความสั้น-ยาวของเพลง ได้ ๒ พวก คือ
๑.๑.๑ เพลงสั้น ได้แก่ เพลงระบำ เพลงพิษฐาน เพลงสงฟาง เพลงสำหรับเด็กและเพลงแห่นางแมว เป็นต้น
๑.๑.๒ เพลงยาว ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงเรือและเพลงอีแซว เป็นต้น
๑.๒. แบ่งตามรูปแบบของกลอน ได้ ๓ พวก คือ ๑.๒.๑ พวกกลอนหัวเดียว ได้แก่ เพลงฉ่อย ลำตัดและเพลงเทพทอง เป็นต้น
๑.๒.๒ พวกกลอนหัวเดียว แต่เวลาลงเพลงมีการสัมผัสระหว่างสามวรรคท้ายเกี่ยวโยงกัน เช่น เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงขอทานและเพลงแอ่วเคล้าซอ เป็นต้น
๑.๒.๓ พวกที่ไม่ค่อยเหมือนใคร เช่น เพลงเด็ก เพลงระบำ เพลงสงฟาง เพลงเหย่ย เป็นต้น
๑.๓. แบ่งเป็นเพลงโต้ตอบและเพลงธรรมดา
๑.๓.๑ เพลงโต้ตอบ เช่น เพลงฉ่อยและเพลงอีแซว เป็นต้น
๑.๓.๒ เพลงธรรมดา คือเพลงที่นอกเหนือจากเพลงโต้ตอบ อาจร้องคนเดียวหรือร้องพร้อมกัน เช่น เพลงสำหรับเด็ก เพลงชักกระดานและเพลงสงฟาง เป็นต้น
๑.๔ แบ่งโดยใช้เวลาหรือโอกาส ได้ ๒ พวก คือ
๑.๔.๑ เพลงที่เล่นตามเทศกาลและฤดูกาล ได้แก่
หน้าน้ำหรือกฐินผ้าป่า เช่น เพลงเรือและเพลงหน้าใย เป็นต้น
หน้าเกี่ยว เช่น เพลงเกี่ยวข้าวและเพลงสงฟาง เป็นต้น
หน้าตรุษสงกรานต์ เช่น เพลงพิษฐานและเพลงพวงมาลัย เป็นต้น
๑.๔.๒ เพลงที่เล่นทั่วไปโดยไม่จำกัดช่วงเวลา เช่น เพลงสำหรับเด็ก เพลง ขอทาน เพลงฉ่อย เพลงทรงเครื่อง ลำตัดและเพลงอีแซว เป็นต้น
สุกัญญา ภัทราชัย ( ๒๕๓๓ : ๓๔๙ ) แบ่งประเภทเพลงพื้นบ้านไว้ ๘ วิธี ดังนี้
๑.๑ แบ่งตามเขตพื้นที่ เป็นการแบ่งตามสถานที่ที่ปรากฏเพลง อาจแบ่ง กว้างที่สุดเป็นภาค เช่น เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เพลงพื้นบ้านภาคใต้ หรืออาจแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล เช่น เพลงพื้นบ้านตำบลเขาทอง อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เพลงพื้นบ้านอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น
๑.๒ แบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมของผู้เป็นเจ้าของเพลง เป็นเพลงพื้นบ้านของกลุ่ม วัฒนธรรมไทโคราช เพลงพื้นบ้านวัฒนธรรมไทเขมร เพลงพื้นบ้านวัฒนธรรมไทลาว เพลงพื้นบ้านกลุ่มไทยพุทธ เพลงพื้นบ้านกลุ่มไทยมุสลิม เป็นต้น
๑.๓ แบ่งตามโอกาสที่ร้อง เป็นเพลงที่ร้องตามฤดูกาลหรือเทศกาล และเพลงที่ร้องเล่นทั่วไปไม่จำกัดโอกาส เพลงที่ร้องตามฤดูกาลหรือเทศกาล เช่น เพลงที่ร้องในฤดูกาลเก็บเกี่ยว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง (ภาคกลาง) เพลงนา (ภาคใต้) สำหรับเพลงที่ร้องในเทศกาลตรุษสงกรานต์ ได้แก่ เพลงบอก (ภาคใต้) เพลงร่อยพรรษา (กาญจนบุรี) เพลงตร๊จ (สุรินทร์) ส่วนเพลงที่ร้องเล่นได้ทั่วไปไม่จำกัดโอกาส ได้แก่ ซอ (ภาคเหนือ) หมอลำ (ภาคอีสาน) เพลงโคราช เป็นต้น ๑.๔ แบ่งตามจุดประสงค์ในการร้อง เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก เพลงประกอบการละเล่นของเด็ก เพลงปฏิพากย์ เพลงประกอบการละเล่นของผู้ใหญ่ เพลงประกอบพิธีกรรม และเพลงร้องรำพัน
๑.๕ แบ่งตามความสั้นยาวของบทเพลง ได้แก่ เพลงปฏิพากย์สั้น เช่น เพลงพานฟาง เป็นต้น และเพลงปฏิพากย์ยาว เช่น เพลงฉ่อย เพลงเรือ เป็นต้น ๑.๖ แบ่งตามเพศของผู้ร้อง ได้แก่ เพลงของผู้หญิงและเพลงของผู้ชาย เช่น เพลงสวดสารภัญญ์ของอีสานเป็นเพลงของผู้หญิง เพลงที่ร้องในพิธีกรรมงานศพ เช่น เพลงกาลอ(ภาคใต้) เพลงตุ้มโมง (สุรินทร์) สวดมาลัย (ภาคใต้) เป็นเพลงเฉพาะผู้ชาย เป็นต้น
๑.๗ แบ่งตามจำนวนของผู้ร้อง เป็นเพลงเดี่ยวและร้องหมู่ เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงพาดควาย (ภาคกลาง) จ๊อย (ภาคเหนือ) เป็นเพลงร้องเดี่ยว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เป็นเพลงร้องหมู่ เป็นต้น
๑.๘ แบ่งตามวัยของผู้ร้อง เป็นเพลงเด็ก เพลงผู้ใหญ่ เช่น เพลงจ้ำจี้เป็นเพลงเด็ก ซอ หมอลำ เพลงฉ่อย เป็นเพลงผู้ใหญ่ เป็นต้น

๒. เพลงพื้นบ้านประเภทต่าง ๆในเอกสารนี้จะขอแบ่งประเภทเพลงพื้นบ้านตามจุดประสงค์ของเพลง ดังนี้
๒.๑ เพลงกล่อมเด็ก เพลงกล่อมเด็ก คือเพลงที่ใช้ร้องขับกล่อมเพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลินและนอนหลับ เพลงกล่อมเด็กของไทยมีทุกภาค แต่เรียกชื่อต่างกัน ดังนี้ ภาคกลางเรียกว่า “เพลงกล่อมเด็ก” ภาคเหนือเรียกว่า “เพลงอื่อ” หรือ “เพลงอื่อจา” ภาคอีสานเรียกว่า “เพลงกล่อมลูก” หรือ “เพลงนอนสาเด้อ” และภาคใต้เรียกว่า “เพลงชาน้อง เพลงร้องเรือ หรือเพลงน้องนอน”
กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์ (๒๕๓๑ : ๔) สันนิษฐานถึงที่มาของเพลงกล่อมเด็กว่าน่าจะเกิดขึ้นมาจากความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกเป็นเหตุสำคัญ เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ในเรื่องความรักที่มีต่อลูก จึงทำให้มีการปฏิบัติต่อลูกด้วยความเต็มใจ โดยการแสดงออกทั้งกาย วาจาและใจ การอุ้มลูก ให้นมลูกหรือการแกว่งไกวเปลเป็นการแสดงออกทางกาย แล้วแสดงความรู้สึกในใจผ่านน้ำเสียงที่นุ่มนวลอ่อนโยน ซึ่งในระยะแรก ๆ คงเป็นลักษณะของการเปล่งเสียง อือ ๆ ออ ๆ โอ ๆ หรือ อา ๆ อยู่ในลำคอก่อน ต่อมาจึงค่อยเปล่งเสียงเป็น ถ้อยคำง่าย ๆ ที่บ่งบอกถึงความรัก ความเอ็นดู ความห่วงใยและทะนุถนอม ตามภาษาพูดของชนชาตินั้น ๆ

เพลงปฏิพากย์

เพลงปฏิพากย์เป็นเพลงโต้ตอบระหว่างชายและหญิงที่แสดงไหวพริบปฏิภาณในการว่ากลอนกันสดๆ ซึ่งถือเป็นเพลงพื้นบ้านของไทยอันสมบัติของชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตอยู่ในสังคมเกษตรกรรม เพราะวิถีชีวิตของคนไทยดั้งเดิมนั้นจะมีอาชีพกสิกรรม ดังนั้นเพลงหรือการละเล่นต่างๆ มักจะเกี่ยวข้องกับอาชีพด้วย อย่างเช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง ฯลฯ เล่นเพื่อให้เกิดความสนุก ความเพลิดเพลินขณะทำงาน เพื่อความสามัคคี และเพื่อความเจริญรุ่งเรื่อง เป็นสิริมงคล นอกจากจะเล่นเพลงปฏิพากย์ขณะทำงานแล้ว ก็ยังมีการร้องเพลงปฏิพากย์ในพิธีกรรมต่างๆ ด้วย ซึ่งเพลงปฏิพากย์ของภาคกลางนั้นมีมากมาย จึงเลือกศึกษาบางชนิด ที่เกี่ยวข้อง ใกล้กับวิถีชีวิตของคนไทย และนิยมเล่นกัน ในการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ได้รู้จักเพลงปฏิพากย์มากขึ้น โดยเฉพาะลักษณะของเพลงปฏิพากย์ชนิดต่างๆ และความรู้เกี่ยวกับเพลงปฏิพากย์อื่นๆ ซึ่งถือเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมอีกทางหนึ่ง

เพลงพื้นบ้านภาคใต้

เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด มรทั้งการ้องเดี่ยวและการร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาคหรือเพลงแห่นาคเป็นต้น
เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่เพลงตันหยง ซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานอตางงาน งานขึ้นปีใหม่ และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่ร้องกล่อมเด็กให้หลับ และเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลู ที่เป็นการร้องคล้าย ๆ ลำตัด โดยมีรำมะนา เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษาท้องถิ่นคือภาษามลายูเป็นกลอนโต้ตอบก

เพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เพลงพื้นบ้านตะวันออกเฉียงเหนือ (เพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน ) ใช้ร้องเพื่อความสนุกสนานในงานรุ่งเรืองต่าง ๆ สามรถแต่งได้ตามกลุ่มวัฒนธรรม 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ กลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช และกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึม ดังนี้
เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ ประกอบด้วยหมอลำและเซิ้งโดยหมอลำ แบ่งการลำและการร้องออกเป็น 5 ประเภทคือ ลำเรื่อง ลำกลอน ลำหมู่ ลำเพลิน และลำผีฟ้า ส่วนเซิ้งหรือคำร้อง จะใช้คำร้องรื่นเริง เช่น การแห่บั้งไฟ การแห่นางแมว การแห่นางด้ง โดยเนื้อเรื่องในการเซิ้งอาจเป็นการขอบริจาคเงินในงานบุญ การเซิ้งอวยชัยให้พร หรือการเซิ้งเล่านิทานชาดกตามแต่โอกาส
เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมานาน ในจังหวัดนครราชสีมา หรือโคราช ซึ่งเนื้อเพลงมีลักษณะเด่นมนการเล่นสัมผัสอักษรและสัมผัสสระทำให้เพลงน่าฟังยิ่งขึ้น และยังมีเสียงร้อง ไช ชะ ชะ ชิ ชาย พร้อมทั้งการรำประกอบแบบเยาะตัวตามจังหวะขึ้นลง ซึ่งเพลงโคราชนี้นิยมเล่นทุกโอกาสตามความเหมาะสม
เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึม ที่นิยมร้องเล่นกันในแถบจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับเขมร ได้แก่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีษะเกษ โดยคำว่ากันตรึม นั้นหมายถึงกลองกันตรึม ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักเวลาตีจะใช้จังหวะเสียงดัง โจ๊ะกันตรึม โจ๊ะตรึม ๆ และเจรียงหมายถึง การขับหรือการร้องเพลงมี 2 แบบคือ เจรียงใช้ประกอบการบรรเลงดนตรีกันตรึม ซึ่งเมื่อขับร้องไปท่อนหนึ่ง ดนตรีกันตรึมก็จะรับและบรรเลงยาว ต่อไปเป็นเจรียงดนตรีใช้ร้องในงาน โดยจะขับร้องไปเรื่อย ๆ และมีดนตรีบรรเลงคลอไปเบา ๆ ซึ่งในการร้องเจรียงนั้นสามารถร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาล

เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ

เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาลใด ๆซึ่งใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะอ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวล สอดคล้องกับเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 3 ประเภท คือ
เพลงซอ ใช้ร้องโต้ตอบกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึงคลอไปด้วย
เพลงจ๊อย เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆ โดยเนื้อหาของคำร้องจะเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา มีนักร้องเพียงคนเดียวและจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ เช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูงและจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่นๆ คือเพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุงจา

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง มีอิทธิพลมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การประกอบอาชีพวิถีการดำเนินชีวิต พิธีกรรม และเทศกาลต่าง ๆ โดยสามารถแยกประเภทได้ดังนี้คือ
เพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำมาก ได้แก่เพลงเรือ เพลงร่อยพรรษา เพลงรำภาข้าวสาร เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน เป็นต้น
เพลงที่ร้องเล่นในฤดูเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นรำกำเคียว เพลงจาก ซึ่งใช้ร้องเล่นระหว่างเกี่ยวข้าว สำหรับเพลงสงฟาง เพลงพานฟาง เพลงโอก เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว และเพลงชักกระดาน ใช้ร้องเล่นระหว่างนวดข้าว
เพลงที่ร้องเล่นในช่วงตรุษสงกรานต์ ได้แก่เพลงสงกรานต์ ได้แก่ เพลงสงกรานต์ เพลงหย่อย เพลงระบำบ้านไร่ เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงพวงมาลัย เพลงสันนิษฐาน เพลงคล้องช้าง และเพลงใจหวัง เพลงฮินเลเล เพลงกรุ่น เพลงยั่ว เพลงชักเย่อ เพลงเข้าทรงต่าง ๆ เป็นต้น
เพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มักจะร้องเล่นกันในโอกาสทำงานร่วมกัน หรือมีงานบุญและงานรื่นเริงต่าง ๆ โดยเป็นเพลงในลักษณะพ่อเพลงแม่เพลงอาชีพที่ใช้โต้ตอบกันได้แก่ เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงลำตัด เพลงทรงเครื่อง เป็นต้น

ประเพณณีรำข้าวสาร

ประเพณีรำข้าวสาร
กำหนดการจัดงาน ประเพณีรำพาข้าวสารจะเริ่มทำกันเมื่อออกพรรษาแล้ว คือ ถ้าวัดใดยังไม่มีคนจองกฐิน หรือยังไม่ได้ทอดกฐิน ชาวบ้านก็จะช่วยกันจัดกฐินไปทอด จึงต้องออกเรี่ยไรบอกบุญไปยังชาวบ้านเป็นการ ร้องเพลงเชิญชวนไปทำบุญกิจกรรม/พิธี วิธีรำพาข้าวสารมีดังนี้ คือ คณะรำพาข้าวสารจะประกอบไปด้วยบุคคลทั้งหญิง และชาย มีทั้งคนแก่หรือคนหนุ่มสาว ประมาณ ๒๐ - ๓๐ คน ลงเรือที่เตรียมไว้ในตอนค่ำ ภายในเรือมีกระบุง หรือกระสอบใส่ข้าวสาร มีคนแก่คนหนึ่งนุ่งขาวห่มขาวนั่งกลางลำเรือเป็นประธาน โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ส่วนคนอื่นๆ ช่วยกันพายเรือ และแต่งกายตามสบาย หรือแล้วแต่จะตกลงกันทุกคนนั่งริมกราบเรือ เพื่อช่วยกันพาย และมีคนคัดท้ายที่เรียกว่า "ถือท้ายเรือ" หนึ่งคน จะพายพร้อมๆ กันเหมือนกับแข่งเรือ โดย พายไปตามบ้านที่เรือจอดถึงหัวบันไดบ้านได้ เมื่อเรือจอดที่หัวบันไดบ้านแล้ว ก็จะร้องเพลงโดยมีต้นเสียงหรือแม่เพลงขึ้นนำว่า "เจ้าขาว ลาวละลอกเอย มาหอมดอก ดอกเอ๋ยลำไย แม่เจ้าประคุณพี่เอาส่วนบุญมาให้" จากนั้นทุกคนก็จะร้องรับ พร้อมๆ กันว่า "เอ่ เอ เอ้ หลา เอ่ หล่า ขาว เอย" แล้วก็ร้องไปเรื่อยๆ เป็นทำนองเชิญชวนให้ทำบุญร่วมกันร้องไปเรื่อยจะเป็นดอกอะไรก็ได้จนกว่าเจ้าของบ้านจะตื่น เมื่อเจ้าของบ้านได้ยินเสียงเพลง ก็จะรู้ทันทีว่ามา เรี่ยไรข้าวสารเพื่อจะนำไปทอดกฐิน โดยเอาขันตักข้าวสารลงมาให้ที่เรือแล้วยกมือไหว้เป็นการอนุโมทนาด้วยเมื่อคณะรำพาข้าวสารได้รับบริจาคแล้ว ก็จะให้ศีลให้พรเป็นเพลงให้เจ้าของบ้านอยู่เย็นเป็นสุข และทำมา ค้าขึ้น โดยร้องว่า "ทำบุญกับพี่แล้วเอยขอให้ทรามเชยมีความสุข นึกถึงเงินให้เงินมากอง นึกถึงทองให้ ทองไหลมา เอ่ เอ เอ้ หล่า เอ่ หล่า ขาว เอย" เมื่อร้องเพลงให้พรเสร็จแล้วก็พายเรือไปบ้านอื่นต่อไป การรำพาข้าวสารจะเริ่ม ตั้งแต่ ๑๙.๐๐ น.ไปจนถึงเที่ยงคืนจึงเลิกแล้วพากันกลับบ้านและในคืนต่อไปคณะรำพาข้าวสารก็ จะพายเรือไปขอรับบริจาคที่ตำบลอื่นต่อไปจนกระทั่งเห็นว่าข้าวของที่ได้มาพอที่จะทอดกฐินแล้วจึงยุติการรำพาข้าวสาร

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

การแสดงลำตัด

การแสดงลำตัด ประวัติความเป็นมากลองลำตัด มีที่มาจาก จังหวัดปัตตานี และได้มีการเล่าสืบทอดประเพณีนี้ต่อมาเรื่อยๆ ตั้งแต่รุ่นเก่าแก่จนถึงปัจจุบันนี้
เนื้อเพลง โอ้เจ้านกน้อยเอย ก่อนนี้เคยจับอยู่บนคอน เจรจาจู๋จี๋กล่อมพี่ให้นอน เจรจาเสียงร้องกล่อมน้องให้นอน เจ้ามาหลุดจากกรงหลงเข้าดงกลางดอน ทิ้งน้องให้นอนคนเดียวเอยเ พ ล ง ข น ม แ ช ง ม้ า โอละเห่โอละหึก ลุกขึ้นแต่ดึกทำขนมแชงม้า ผัวก็แช่งเมียก็ด่า ขนมก็คาหม้อแกงยังไม่ทันหายโกรธ ขนมก็หมดหม้อแกง

ข่าวแช่ชาวมอญ

ข้าวแช่ชาวมอญ
เมษายน เดือนที่อากาศร้อนระอุอบอ้าว ยิ่งปีนี้โลกเราประสบกับภาวะโลกร้อน ยิ่งทำให้เดือนเมษาอากาศร้อนสุดๆ เมื่ออากาศร้อนในมื้อนี้ก็ต้องหาอะไรกินคลายร้อนกันเสียหน่อย โดยหนึ่งในอาหารคลายร้อนที่คนไทยนิยมมาแต่โบราณกาลก็คือ"ข้าวแช่" นั่นเอง ข้าวแช่ เป็นอาหารโบราณ ที่นำเอาข้าวมาแช่ในน้ำเย็น ลอยด้วยดอกไม้หอมๆ กินคู่กับเครื่องเคียงสารพัด กินแล้วช่วยคลายความร้อนได้ดีทีเดียว ซึ่งในมื้อนี้ ปัจจุบันนี้สูตรการทำข้าวแช่ของท่านหญิงสุลัภฯ ได้ตกทอดมาถึงทายาทคือ ม.ร.ว.โสรัจจ์ วิสุทธิหรือคุณชายแจ๊ค ผู้ดำเนินธุรกิจร้านอาหารท่านหญิง ที่เมื่อหน้าร้อนมาถึงก็จะทำเมนูข้าวแช่ที่เลิศรสออกมาให้ได้ลิ้มลองรสชาติกัน สำหรับเมนู ข้าวแช่ ของที่นี่เสิร์ฟมาในสำรับทองเหลือง ( สำรับละ 275 บาท) ภายในสำรับประกอบไปด้วย ข้าวแช่ ที่ใช้ข้าวหอมหุงเป็นตัวแล้วอบร่ำด้วยน้ำหอม โดยใช้น้ำสะอาดอบควันเทียนอบจนหอมกรุ่น แล้วก็ลอยดอกไม้สดข้ามคืนด้วยดอกชมนาดและมะลิให้หอมสดชื่น ยำก้านคะน้า แล้วก็มีเครื่องเคียงที่กินคู่กับข้าวแช่สารพัด มีทั้งลูกกะปิทอด ที่ปั้นด้วยมือเป็นลูกกลมๆ ขนาดพอเหมาะแล้วชุบไข่ลงทอด เคี้ยวแล้วกรอบนอกเนื้อในนุ่มมากๆ ได้รสชาติเครื่องปรุงเข้มข้นกลมกล่อม มีพริกหยวกสอดไส้ ที่ข้างในเป็นไส้หมูและกุ้งสับละเอียดปรุงรสนึ่ง แล้วหุ้มด้วยหรุ่มไข่ทอดเป็นตาข่ายสีเหลืองทองชวนกิน มีหัวหอมโทน ลูกโตที่คว้านยัดไส้ด้วยปลาผัดแล้วชุบแป้งทอด มีเนื้อเค็มย่าง ฉีกเป็นเส้นฝอยๆ ทอดกรอบผัดน้ำตาลจนเป็นเงา เคี้ยวแล้วกรุบกรอบเข้ากันกับข้าวแช่เย็นๆ และก็มีหัวผักกาดเค็ม หั่นซอยเป็นเส้นๆ ผัดกับไข่และหมูสับ รสชาติออกหวานๆ และก็มีเครื่องเคียงที่เป็นผักเอาไว้กินแกล้มกับข้าวแช่ อย่างกระชาย พริกชี้ฟ้าแดง แตงกวา ต้นหอม และมะม่วง

กระยาสาท

กระยาสาท
ขนมกระยาสาทประวัติของอาหาร มาจากฤดูถิ่นเดือนสิบ สาเหตุที่พระภิกษุสงฆ์ ได้ฉันท์กระยาสารท แล้วหายจากอาพาตส่วนผสม1.ข้าวเม่าคั่ว จำนวนพอประมาณ 2.ถั่วคั่ว จำนวน 12 กิโลกรัม 3.กะทิ จำนวน 4 กล่อง4.นมข้นหวาน 4 กระป๋อง5.คอฟฟี่เมต 1 กล่อง6.น้ำอ้อย จำนวนพอประมาณ
วิธีทำ-เปิดไฟพอประมาณ คั่วข้าวเม่าให้พอง ถ้าด้านมากข้าวเม่าจะไม่อร่อย-ต้องเอาข่าวเม่าที่ตำแล้วมาคั่ว ใส่ตามขนาดพอประมาณที่จะทำ-เริ่มแรก ควรเอาคอฟฟี่เมตและนมข้นหวาน กะทิลงไปในกระทะพอคนเข้ากันแล้ว ใส่น้ำอ้อยลงไป ถ้าเราอยากรู้ว่าได้หรือยังให้เอาไปใส่ในน้ำแล้วนำถั่วงา ข้าวเม่า มาผสมกันแล้วตั้ง 1 ส่วน 2 ชั่วโมง แล้วช่วยกันกวนจนเสร็จประมาณ 15 นาที แล้วนำมาใส่แม่พิมพ์ แล้วใช้ขวดบดให้แบน แล้วใช้มีดตัด ใส่ถุง

กาละแม

ความเป็นมา"กะละแม" จะเป็นขนมไทยที่มีชื่อเพี้ยนมาจากคำภาษาฝรั่งว่า " Caramel" ก็ตาม แต่ "กะละแม" เป็นขนมไทย ที่มีเชื้อชาติไทย และ สัญชาติไทย เป็นสายพันธุ์แท้ สังเกตได้จากส่วนผสมหลัก ๆ ของการทำกะละแม จะมีเพียงแค่แป้งข้าวเหนียว กะทิ และน้ำตาล เท่านั้น ที่ต้องพูดอย่างนี้เพราะมีขนมไทยหลายอย่าง ที่เราได้รับอิทธิพลในการทำมาจากคนต่างประเทศ วิธีสังเกตง่าย ๆว่าขนมชนิดนี้ เป็นขนมไทยแบบแท้ ๆ หรือไม่ ให้ดูจากส่วนผสมเป็นหลัก ขนมไทยสายพันธุ์แท้ ส่วนผสมจะมีเพียงแค่ แป้ง กะทิ และ น้ำตาลเท่านั้น เพราะฉะนั้นใครที่ไป "ตู่" ไว้ว่า ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ เป็นขนมไทย ละก็ ขอให้เปลี่ยนความคิดใหม่นะคะ ขนมไทยสายพันธุ์แท้ต้องไม่มี "ไข่" เป็นส่วนผสม ถ้ามีก็ถือเป็นขนมลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจาก วิธีการทำขนมของ "ท้าวทองกีบม้า"
วิธีทำ1. โขลกกาบมะพร้าวเผาให้ละเอียด (จะได้ประมาณ 1/ 2 ถ้วย) แล้วนำไปผสมกับน้ำ 10 ถ้วย คนให้ เข้ากัน แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง 2. นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำกาบมะพร้าวที่กรองไว้ โดยค่อย ๆ ใส่น้ำกาบมะพร้าวลงไปในแป้งทีละ น้อย นวดจนแป้งเนียน จึงใส่หัวกะทิ และ น้ำตาล ลงคนให้เข้ากัน3. นำส่วนผสมที่ได้ ใส่ลงในกระทะทอง ยกขึ้นตั้งไฟ ใช้ไฟกลาง กวนส่วนผสมไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหนียว และจับตัวกันเป็นก้อน จึงลดไฟ กวนต่อจนส่วนผสมล่อนออกจากกระทะ 4. เทขนมใส่ถาดสี่เหลี่ยมที่ทาน้ำมันไว้แล้ว เทหนาประมาณ 3/ 4 ถึง 1 นิ้ว เกลี่ยให้เรียบเสมอกัน จากนั้นใช้ใบตองหน้าขนมให้ขึ้นเงา พักไว้ให้เย็น จึงตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม
ส่วนผสมแป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม กะทิ 15 ถ้วย (ใช้มะพร้าวขูดขาว 2 กิโลกรัม คั้นด้วยน้ำอุ่น 10 ถ้วย) กาบมะพร้าวเผาไฟ 3 ลูก น้ำตาลปีบ 10 ถ้วย น้ำ 10 ถ้วย น้ำมันเล็กน้อยสำหรับทาถาดขนม

ขนมทองหยอด

ขนมทองหยอด ส่วนผสม1.ไข่เป็ด จำนวน 10 ฟอง2.แป้งทองหยอด จำนวน ¼ ถ้วยตวง 3.น้ำตาลทราย 7 ถ้วยตวง 4.น้ำลอยดอกมะลิ 6 ถ้วยตวงวิธีทำ 1. ผสมน้ำ น้ำตาบทรายตั้งไฟให้เดือดพอเหนียว ตักน้ำเชื่อมขึ้นไว้ สำหรับลอยทองหยอด ที่เหลือตั้งไฟ ต่อไปให้น้ำเชื่อมเหนียว 2.แยกไข่แดง ไข่ขาว3.ตีไข่แดงให้ขึ้นค่อยๆ ใส่แป้งทองหยอด แล้วคนให้เข้ากัน4.หยอดไข่ที่ตีแล้วลงในน้ำเชื่อมที่ตั้งอยู่บนไฟ ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางเป็นตัวกำหนด ต้องการลูกเล็กหรือใหญ่ตามใจชอบนิ้วหัวแม่มือจะเป็นนิ้วที่ช่วยรูดแป้งลงที่ปลายนิ้ว แล้วจึงสะบัดไข่บงในน้ำเชื่อม5.เมื่อทองหยอดสุกลอยขึ้น ตักใส่น้ำเชื่อมสำหรับลอย

ปลาร้า

ปลาร้าหลน เครื่องปรุงปลาร้าต้ม(กรองเอาแต่น้ำ) 1 ถ้วยกะทิ 1 กล่องหอมแดงซอยละเอียด 3 - 4 ช้อนโต๊ะพริกชี้ฟ้าเขียวแดง 6 เม็ดวิธีปรุง1.นำปลาร้าใส่หม้อต้มและใส่กะทิลงไปประมาณครึ่งกล่อง เคี่ยวให้งวดลงพอสมควร ถ้าใครอยากใส่หมูสับเหมือนไข่นุ้ยก็ใส่ตอนนี้เลยค่ะ 2.พอหมูสุกดีแล้วก็ใส่พริกชี้ฟ้าทั้งเม็ด หอมซอย ปรุงรสด้วยน้ำปลาดี น้ำส้มมะขามเปียก น้ำมะนาว ชิมรสให้กลมกล่อมเสร็จตักใส่ชามไว้รับประทานกับผักสดหรือผักจิ้มเช่น ถั่วพู หัวปลีลวก ยอดกระถิน มะเขือเปราะ แตงกวา

แกงบอน

แกงบอนเครื่องปรุงบอน หรือ หลี่บอน คือยอดอ่อนของบอนที่อยู่ หนังวัวหรือหนังควาย พริกแห้ง ๕-๗ เม็ด หัวหอม กระเทียม เกลือ กะปิ ปลาร้า มะขามเปียก ใบมะกรูดวิธีทำ1. นำพริกแห้ง หัวหอม กระเทียม เกลือ กะปิ ปลาร้า โขลกรวมกันให้ละเอียดเป็นน้ำพริกแกง เอาหนังวัวหรือหนังควายเผาไฟ ขูดทำความสะอาดดีแล้วเอาหั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มจนเปื่อยแล้วเอาน้ำพริกลงละลายให้เข้ากัน หลี่บอนและต้นบอนอ่อนที่ล้างเรียบร้อยแล้วตัดเป็นท่อน ๆ เอาลงต้มกับหนังวัวหรือควาย เคี่ยวจนเละ โดยบางคนอาจใช้ทัพพีคนบ่อย ๆ หรืออาจใช้ไม้ปั่นให้บอนเละ ใส่น้ำมะขามเปียกคั้นเล็กน้อย ก่อนยกลงใส่ใบมะกรูดลงไป บางคนเมื่อแกงเสร็จแล้ว เอาผัดน้ำมันอีกที พบว่าบางสูตรจะใส่มะเขือด้วยด้วย บางท่านจะนำบอนและ หลี่บอนนั้นจะนึ่งให้สุกก่อนแล้วจึงนำไปคนกับเครื่องแกงให้เข้ากัน แล้วจะนำไปผัดในน้ำมัน พร้อมด้วยมะเขือเทศ ใส่น้ำมะขามเปียก ตามด้วยใบมะกรูดหมายเหตุ : จะใช้ใบและยอดอ่อนของเผือก แทนบอนก็ได้ และใช้ยอดส้มป่อยปรุงให้แกงมีรสเปรี้ยวแทนมะขามเปียกก็ได้ หากไม่มีหนังวัวหรือควาย จะใช้แคบหมู หรือกระดูกหมูแทนได้สรรพคุณ ช่วยป้องกันท้องอืด กัดเมือกมันในลำไส้ ช่วยระบายท้อง เป็นอาหารบำรุงธาตุดินและธาตุน้ำ เคล็ดคนโบราณแกงบอนนี้ บางคนถือเคล็ดห้ามพูดว่า แกงบอน ให้เรียกว่า แกงผักหวาน เพราะกลัวว่าจะทำให้คันปาก บางบ้านจะแขวนบอนผึ่งลมไว้ ๑ คืน ก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร และขณะต้มบอน ให้ตักน้ำแกงทิ้ง 3กระบวย

เพลงนกขมิ้น

เพ ล ง น ก ข มิ้ น เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อนเอย ค่ำแล้วจะนอนที่ตรงไหน จะนอนไหนก็นอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอนลมพระพายชายพัดมาร่อนร่อน เจ้าเคยจรไปนอนรังไหนเอย

เพลงนกกาเหว่า

เ พ ล ง น ก ก า เ ห ว่ า นกกาเหว่าเอยไข่ไว้ให้แม่กาฟัก แม่กาก็หลงรักคิดว่าลูกในอุทรคาบเอาข้าวมาเผื่อคาบเอาเหยื่อมาป้อน ถนอมไว้ในรังนอนซ่อนเหยื่อมาให้กินปีกเจ้ายังอ่อนเพิ่งจะสอนบิน แม่กาก็พาไปกินที่ฝั่งน้ำแม่คงคกินกุ้งกินกั้งกินหอบกระพังและแมงดา กินแล้วก็โผมาเกาะต้นหว้าโพธิ์ทอง

คำคมความรัก

ถ้าคุณตกอยู่ในห้วง..ความรัก!! คลิกถ้าคุณกำลังแอบรักใครอยู่...คลิกถ้าคุณกำลังห่วงใยใครสักคนอยู่...คลิกถ้ากำลังคิดถึงใครสักคนอยู่ คลิกถ้าคุณอยากบอกเลิกใครสักคน...คลิกถ้าคุณกำลังเศร้า อกหัก เสียใจ... คลิกถ้าคุณอยู่ในอารมณ์ประชดประชัน...คลิก รวมคำคมขำๆฮาๆ คลิกรวมคำคมเจ็บๆคันๆ โดนใจ