วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประเพณณีรำข้าวสาร

ประเพณีรำข้าวสาร
กำหนดการจัดงาน ประเพณีรำพาข้าวสารจะเริ่มทำกันเมื่อออกพรรษาแล้ว คือ ถ้าวัดใดยังไม่มีคนจองกฐิน หรือยังไม่ได้ทอดกฐิน ชาวบ้านก็จะช่วยกันจัดกฐินไปทอด จึงต้องออกเรี่ยไรบอกบุญไปยังชาวบ้านเป็นการ ร้องเพลงเชิญชวนไปทำบุญกิจกรรม/พิธี วิธีรำพาข้าวสารมีดังนี้ คือ คณะรำพาข้าวสารจะประกอบไปด้วยบุคคลทั้งหญิง และชาย มีทั้งคนแก่หรือคนหนุ่มสาว ประมาณ ๒๐ - ๓๐ คน ลงเรือที่เตรียมไว้ในตอนค่ำ ภายในเรือมีกระบุง หรือกระสอบใส่ข้าวสาร มีคนแก่คนหนึ่งนุ่งขาวห่มขาวนั่งกลางลำเรือเป็นประธาน โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ส่วนคนอื่นๆ ช่วยกันพายเรือ และแต่งกายตามสบาย หรือแล้วแต่จะตกลงกันทุกคนนั่งริมกราบเรือ เพื่อช่วยกันพาย และมีคนคัดท้ายที่เรียกว่า "ถือท้ายเรือ" หนึ่งคน จะพายพร้อมๆ กันเหมือนกับแข่งเรือ โดย พายไปตามบ้านที่เรือจอดถึงหัวบันไดบ้านได้ เมื่อเรือจอดที่หัวบันไดบ้านแล้ว ก็จะร้องเพลงโดยมีต้นเสียงหรือแม่เพลงขึ้นนำว่า "เจ้าขาว ลาวละลอกเอย มาหอมดอก ดอกเอ๋ยลำไย แม่เจ้าประคุณพี่เอาส่วนบุญมาให้" จากนั้นทุกคนก็จะร้องรับ พร้อมๆ กันว่า "เอ่ เอ เอ้ หลา เอ่ หล่า ขาว เอย" แล้วก็ร้องไปเรื่อยๆ เป็นทำนองเชิญชวนให้ทำบุญร่วมกันร้องไปเรื่อยจะเป็นดอกอะไรก็ได้จนกว่าเจ้าของบ้านจะตื่น เมื่อเจ้าของบ้านได้ยินเสียงเพลง ก็จะรู้ทันทีว่ามา เรี่ยไรข้าวสารเพื่อจะนำไปทอดกฐิน โดยเอาขันตักข้าวสารลงมาให้ที่เรือแล้วยกมือไหว้เป็นการอนุโมทนาด้วยเมื่อคณะรำพาข้าวสารได้รับบริจาคแล้ว ก็จะให้ศีลให้พรเป็นเพลงให้เจ้าของบ้านอยู่เย็นเป็นสุข และทำมา ค้าขึ้น โดยร้องว่า "ทำบุญกับพี่แล้วเอยขอให้ทรามเชยมีความสุข นึกถึงเงินให้เงินมากอง นึกถึงทองให้ ทองไหลมา เอ่ เอ เอ้ หล่า เอ่ หล่า ขาว เอย" เมื่อร้องเพลงให้พรเสร็จแล้วก็พายเรือไปบ้านอื่นต่อไป การรำพาข้าวสารจะเริ่ม ตั้งแต่ ๑๙.๐๐ น.ไปจนถึงเที่ยงคืนจึงเลิกแล้วพากันกลับบ้านและในคืนต่อไปคณะรำพาข้าวสารก็ จะพายเรือไปขอรับบริจาคที่ตำบลอื่นต่อไปจนกระทั่งเห็นว่าข้าวของที่ได้มาพอที่จะทอดกฐินแล้วจึงยุติการรำพาข้าวสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น